• April 27, 2024
วิธีดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอ

วิธีดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอ มีวิธีดูดเสมหะอย่างไรบ้าง? 

ทุกคนรู้หรือไม่ว่าผู้ป่วยที่ไม่สามารถขับเสมหะออกมาเองได้ จะส่งผลเสียต่อร่างกายมากที่สุด เพราะเสมหะจะเป็นสารเมือกอยู่บริเวณทางเดินหายใจ ตั้งแต่หลอดลมคอถึงหลอดลมฝอย ที่จะมีอยู่ประมาณ 10-100 มิลลิลิตรต่อวันเลยทีเดียว และเสมหะเหล่านี้ยังเกิดจากเชื้อโรค และสิ่งสกปรกต่าง ๆ อีกด้วย ดังนั้นผู้ป่วยเจาะคอที่ไม่สามารถขับเสมหะออกมาเองได้นั้น จำเป็นต้องดูดเสมหะออกเป็นประจำทุกวัน เพื่อช่วยขจัดความรำคาญใจ อีกทั้งยังช่วยป้องกันอันตรายได้อีกด้วย ดังนั้นหากใครที่มีผู้ป่วยเจาะคออยู่ที่บ้าน และต้องการดูดเสมหะอย่างถูกวิธี มาดูกันเลยว่าวิธีดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคออย่างถูกต้อง จะมีวิธีไหนบ้าง 

วิธีดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอ ทำไมจึงต้องดูดเสมหะ? 

เชื่อได้เลยว่าวิธีดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอหลาย ๆ คนจะต้องสงสัยกันอย่างแน่นอนว่า ทำไมถึงต้องดูดเสมหะออกมา ซึ่งการดูดเสมหะที่ค้างอยู่ภายในคอนั้น จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น เพราะในบางครั้งหากผู้ป่วยมีเสมหะสะสมมากเกินไป จะก่อให้เกิดความอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว แถมยังเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคต่าง ๆ จนทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อได้อีกด้วย ดังนั้นการดูดเสมหะจะช่วยป้องกันปัญหาต่าง ๆ นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยสร้างสุขภาวะที่ดีให้แก่ผู้ป่วยด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ช่วยป้องกันการสำลักสิ่งแปลกปลอม อย่างเช่น เลือด น้ำเข้าสู่ปอด เป็นต้น ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อในทางเดินหายใจ และยังช่วยป้องกันการติดเชื้อจากการคั่งค้างของเสมหะได้อีกด้วย 

เลือกดูดเสมหะด้วยวิธีไหนได้บ้าง 

โดยปกติแล้วจะมีวิธีดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอทั้งหมด 3 วิธีด้วยกัน ซึ่งแต่ละวิธีจะมีความแตกต่างกันทั้งสิ้น ได้แก่ 

  • การดูดเสมหะทางปาก: ที่เราจะต้องใส่สายดูดเสมหะลไปที่โคนลิ้นช้า ๆ ทั้งนี้การดูดเสมหะด้วยวิธีนี้ จะต้องปิดสายดูดเสมหะไม่เกิน 10-15 วินาทีต่อครั้ง และควรหยุดพัก 20-30 วินาที ค่อยเริ่มดูดเสมหะในครั้งต่อไป 
  • การดูดเสมหะทางจมูก: ก่อนดูดเสมหะทางจมูกจะต้องนำปลายสายดูดเสมหะหล่อลื่นกับสารหล่อลื่นเสียก่อน เพื่อช่วยลดอาการบาดเจ็บได้ดีที่สุด และค่อย ๆ ใส่สายดูดเสมหะเข้ารูจมูกช้า ๆ เพื่อป้องกันอันตรายหรือการบาดเจ็บนั่นเอง 
  • การดูดเสมหะทางท่อเจาะคอ: จะเป็นการใส่สายดูดเสมหะเข้าไปที่ท่อเจาะคอ มีความลึกประมาณ 5-6 นิ้ว หรือจนรู้สึกว่าชนกับผนังหลอดลม และให้ขยับขึ้นมาประมาณ 1 นิ้ว โดยระหว่างใส่ห้ามปิดสายดูดเสมหะโดยเด็ดชาด 

สำหรับวิธีดูดเสมหะผู้ป่วยเจาะคอแม้ว่าจะมีวิธีไม่ยากเท่าไหร่นัก แต่การดูดเสมหะให้ผู้ป่วยเองที่บ้าน จำเป็นต้องได้รับคำสั่ง และคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน เพราะหากดูดเสมหะไม่ถูกวิธี หรือไม่ถูกต้อง อาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการบาดเจ็บ และได้รับอันตรายได้นั่นเอง